กฟน.เดินหน้าโครงการสายไฟฟ้าใต้ดิน ถนนรัชดา-พระราม 9 แล้วเสร็จปี 64

กฟน. เดินหน้าโครงการสายไฟฟ้าใต้ดิน ถนนรัชดา-พระราม 9 เพื่อทัศนียภาพที่สวยงาม และส่งเสริมธุรกิจท่องเที่ยว   โดย กฟน. จัดประชุมชี้แจงเดินหน้าโครงการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศ เป็นสายไฟฟ้าใต้ดิน บนพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญของกรุงเทพมหานคร ตามนโยบายของกระทรวงมหาดไทยและรัฐบาล เพื่อทัศนียภาพที่สวยงามและสร้างความปลอดภัย รวมถึงส่งเสริมการเติบโตทางธุรกิจท่องเที่ยว คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2564

 

นายราเชนทร์ พฤทธิพงศ์พันธุ์ ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารโครงการ กฟน. เปิดเผยว่าการดำเนินโครงการในครั้งนี้ จะเป็นการดำเนินโครงการบนถนนรัชดาภิเษก ช่วงแยกถนนลาดพร้าว-แยกถนนพระราม 9 และถนนเชื่อมต่อ รวมระยะทาง 2 ฝั่งถนน 14.3 กิโลเมตร มูลค่าสัญญาโครงการกว่า 2,000 ล้านบาท ซึ่งเริ่มโครงการแล้ว ตั้งแต่ช่วงปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2564-2565

 

ปัจจุบันจะดำเนินโครงการบนถนนรัชดาภิเษกช่วงแยกถนนลาดพร้าว ถึงแยกถนนพระราม 9 และถนนเชื่อมต่อ รวมระยะทางการดำเนินงาน 2 ฝั่งถนน ประมาณ 14.3 กม. มูลค่าโครงการกว่า 2,000 ล้านบาท จะแล้วเสร็จในปี 2564 ทำให้พื้นที่โดยรอบมีทัศนียภาพสวยงาม มีความปลอดภัย ส่งเสริมให้เกิดการเติบโตทางธุรกิจท่องเที่ยวอีกด้วย

 

รูปแบบการก่อสร้างมี 3 รูปแบบ คือ

1.งานก่อสร้างบ่อพักและท่อร้อยสายไฟฟ้าด้วยวิธีขุดเปิดบนทางเท้า (open cut)

2.งานก่อสร้างท่อด้วยวิธี HDD (horizontal directional drilling)

3.งานก่อสร้างด้วยวิธีดันท่อ (pipe jacking) โดย กฟน. จะก่อสร้างตั้งแต่เวลา 22.00 น.-05.00 น. เพื่อหลีกเลี่ยงการส่งผลกระทบต่อการจราจร

 

ทั้งนี้ โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งในแผนงานของปี 2562 ที่มีโครงการที่จะดำเนินการแล้วเสร็จ ได้แก่ โครงการถนนพิษณุโลก- ถนนนครสวรรค์ แยกนางเลิ้งถึงแยกเทวกรรม กับถนนเพชรบุรี จากแยกยมราชถึงแยกอุรุพงษ์ รวมระยะทาง 0.3 กม., ถนนนานา ช่วงถนนสุขุมวิทถึงคลองแสนแสบรวมระยะทาง 0.75 กม. จะรื้อถอนเสาไฟฟ้าแล้วเสร็จเดือน เม.ย.นี้  จากนั้นเดือน ธ.ค.เป็นโครงการถนนสาธุประดิษฐ์ และถนนสว่างอารมณ์ รวมระยะทาง 2 กม. และถนนวิทยุ รวมระยะทาง 2.1 กม.

 

โครงการที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง 54.1 กม. อาทิ โครงการนนทรี, พระราม 3, รัชดาภิเษก-พระราม 9, รอบพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน, ตามแนวรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน และถนนวิทยุและโครงการที่จะลงนามสัญญาก่อสร้างในปี 2562 ประมาณ 114.9 กม. มูลค่ากว่า 20,000 ล้านบาท อาทิ โครงการพื้นที่เมืองชั้นใน, ตามแนวรถไฟฟ้าสายสีต่าง ๆ และโครงการร่วมกับหน่วยงานสาธารณูปโภคอื่น

 

ที่มา ประชาชาติธุรกิจ

วันที่ 21 มีนาคม 2562

ความคิดเห็น