มียารักษามะเร็งเต้านมจริงไหม? รักษาได้อย่างไร?

“มะเร็งเต้านม” นับเป็นมะเร็งชนิดที่เป็นอันดับแรกที่ผู้หญิงไทยหลายคนต้องเผชิญ ซึ่งในอดีตโรคมะเร็งเต้านมได้คร่าชีวิตหญิงไทยไปเป็นจำนวนมาก แต่ในตอนนี้ โรคมะเร็งเต้านมสามารถรักษาให้หายขาดได้ หากตรวจพบไว และทำการรักษาได้ถูกวิธี

ทั้งนี้ อาจมีหลายคนสงสัยว่า หากเป็นมะเร็งสามารถรักษาได้ด้วยวิธีใดบ้าง รวมถึงมียารักษามะเร็งเต้านมได้จริงไหม? เราจะมาช่วยไขข้อข้องใจให้แก่คุณในบทความนี้

โรคมะเร็งเต้านมมีสาเหตุจากอะไร?

เรามารู้จักถึงสาเหตุของมะเร็งเต้านมกันก่อนที่จะไปดูว่ามียารักษามะเร็งเต้านมจริงไหม? หรือจะรักษาได้อย่างไร?

  1. พันธุกรรม เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดมะเร็งเต้านม คือมีประวัติคนในครอบครัวที่เคยเป็นมะเร็งเต้านมได้
  2. ใช้ยาคุมกำเนิดเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดความผิดปกติในระบบฮอร์โมนภายในร่างกาย ส่งผลถึงฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับเต้านม
  3. การดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบฮอร์โมน และเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านม
  4. ความอ้วนและการมีน้ำหนักเกินมาก ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบฮอร์โมนภายในร่างกาย และเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านม
  5. การสูบบุหรี่เป็นประจำ เป็นอีกหนึ่งปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดมะเร็งเต้านม เพราะว่าระบบฮอร์โมนในร่างกายเปลี่ยนแปลง

 

มียารักษามะเร็งเต้านมจริงไหม? รักษาได้อย่างไร?

สำหรับการรักษามะเร็งที่มีอยู่ในปัจจุบัน คือ

  1. การผ่าตัด ซึ่งเป็นวิธีการรักษามะเร็งเต้านมยอดที่นิยม โดยมักทำพร้อมกับการรักษาด้วยรังสีและ หรือเคมีบำบัด
  2. การรักษาโดยใช้แสงรังสี เพื่อสังเคราะห์เซลล์มะเร็ง โดยมักจะใช้ร่วมกับการผ่าตัด
  3. การใช้ยารักษามะเร็งเต้านม หรือเรียกอีกอย่างว่าการทำเคมี เป็นการใช้ยาไปยับยั้งเซลล์มะเร็ง โดยมักใช้ในการรักษาหลังผ่าตัดและรังสี มักเกิดผลข้างเคียงได้ เช่น อาการแพ้ผิดปกติ ผมร่วงได้
  4. การใช้ยาต้านฮอร์โมน เป็นการรักษาโดยใช้ยารักษามะเร็งเต้านมชนิดที่มีตัวรับฮอร์โมนเพศ ออกฤทธิ์ทำให้เซลล์มะเร็งขาดฮอร์โมนที่เป็นตัวกระตุ้นการเจริญเติบโต ลดอัตราการกลับเป็นซ้ำได้อีกด้วย

 

นอกจากนี้ ยังมีการใช้ยารักษามะเร็งเต้านม ซึ่งเป็นยามุ่งเป้า (Trastuzumab) โดยเป็นการใช้ยารักษามะเร็งเต้านม ซึ่งยามุ่งเป้าเป็นยาที่เข้าไปยับยั้งเซลล์มะเร็งโดยตรง โดยไม่ทำลายเซลล์ประจำตัวอื่น ๆ ซึ่งช่วยลดผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นจากการใช้วิธีการรักษาอื่น ๆ อย่างเช่น การผ่าตัด รังสี และเคมี ซึ่งตัวยาประเภทนี้ สามารถให้ผลการรักษาที่ดีกว่า และสามารถลดอัตราการกลับมาเป็นซ้ำได้มากกว่า 40% อีกทั้งยังสามารถลดอัตราการเสียชีวิตได้ถึง 37% เลยทีเดียว

ความคิดเห็น