"CHULA SMART CITY" เมืองแห่งใหม่ที่มาพร้อมการพัฒนาพื้นที่รอบจุฬาฯ ให้เป็นเมืองแห่งนวัตกรรมน่าอยู่
ในเขตพื้นที่จุฬาฯ นอกจากจะเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาที่ขึ้นชื่อระดับประเทศแล้ว ยังเด่นในเรื่องการพัฒนาเพื่อพาณิชยกรรมอีกด้วย เพราะเป็นทั้งศูนย์กลางธุรกิจและการท่องเที่ยวที่จุดหมายที่นักท่องเที่ยวทั้งในและนอกประเทศอยากมา ด้วยที่พื้นที่จุฬาฯ เป็นแหล่งรวมความสะดวกสบายหลายสิ่ง ทั้งการเดินทางด้วยรถไฟฟ้า ห้างสรรพสินค้าใหญ่ๆ หลายแห่ง
โดย “CHULA SMART CITY” เป็นอีกหนึ่งโครงการที่ สำนักงานจัดการทรัพย์สินจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” หรือ PMCU ได้มีการวางแผนพัฒนาเอาไว้แล้ว โดยจะมีการพัฒนาบนพื้นที่ 291 ไร่ ฝั่งสามย่าน สวนหลวง สนามกีฬา(ที่พื้นที่คืนหมดแล้ว) แบ่งโซนตามการใช้ประโยชน์ เช่น ย่านพระราม 4 จะเป็นย่านธุรกิจ ตั้งแต่สามย่านมิตรทาวน์ซึ่งจะดูตามความเหมาะสม โดยเริ่มพัฒนาอุทยาน 100 ปีให้เป็นพื้นที่เขียว จากนั้นก็จะเป็นที่อยู่อาศัย โดยจะมีการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคและสร้างเมืองขึ้นมา วางคอนเซปต์เป็นเมืองอัจฉริยะต้นแบบเป็นเมืองน่าอยู่ มีคุณภาพ นวัตกรรม ชุมชน ภายใต้แนวคิด “SMART4″
Smart Environment
การจัดการสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะด้วยเทคโนโลยี เช่น สวนสาธารณะ ลงทุนสร้างอุทยานจุฬา 100 ปี พื้นที่ 29 ไร่ ตรงจุดศูนย์กลางและหัวใจของพื้นที่ ติดตั้งเครื่องวัดสภาพอากาศฝุ่น PM 2.5 มีบริหารจัดการน้ำเสีย โดยเปิด PPP 10 ปี มีทีมกรุ๊ปเป็นผู้ดำเนินการให้ อีกทั้งยังสามารถตรวจสอบสภาพแวดล้อมด้านต่างๆ อาทิเช่น อากาศ ความร้อน เสียง สภาวะอากาศ เพื่อการเข้าไปแก้ไขปัญหาที่ก่อมลภาวะและรักษาสมดุลของสิ่งแวดล้อมกับเมืองที่พัฒนาได้ควบคู่กันไป รวมถึงมีจุดทิ้งขยะอัจฉริยะและการจัดการด้านขยะที่รวดเร็ว มีศักยภาพ และกระตุ้นให้ชุมชนหันมาสนใจและให้ความสำคัญในการบริหารจัดการขยะในชีวิตประจำวัน
Smart Mobility
การสัญจรอัจฉริยะ มีระบบเชื่อมต่อจากมหา’ลัยไปยังรถไฟฟ้าบีทีเอส เช่น รถชัตเติลบัสเป็นรถโดยสารพลังงานไฟฟ้า หรือ EV วิ่งบริการ 5 เส้นทาง วิ่งบริการฟรีตลอดเส้นทาง สามารถดูเส้นทางและตำแหน่งได้ผ่านแอปพลิเคชัน เพื่อลดการใช้รถยนต์ส่วนตัวเข้ามาในพื้นที่ต่อไปจะไม่ให้คนจอดรถริมถนน ให้ไปจอดบนอาคาร ยังมีรถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า เราร่วมกับสตาร์ตอัพไทยพัฒนาขึ้นมาใช้บริการผ่านแอปพลิเคชัน นอกจากนี้ยังร่วมกับโตโยต้าทำ car sharing ร่วมกับไทยสตาร์ตอัพให้เช่ารถขับไปต่างจังหวัดอีกด้วย
smart living
การรักษาความปลอดภัยอัจฉริยะ รวมการควบคุมไว้ที่ศูนย์กลาง เช่น CCTV ระบบสื่อสารนำลงใต้ดิน ระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ผ่านเส้นใยแก้วนำแสง การจัดส่งสินค้าผ่านแอปพลิเคชัน ตอบสนองและสนับสนุนผู้อยู่อาศัยและผู้ใช้งานให้เกิดการเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมวิถีชีวิตที่มีประสิทธิภาพและฉลาดยิ่งขึ้นในกิจวัตรประจำวัน นอกจากนี้ยังมีมีปั๊มน้ำมัน ปตท.มีนำนวัตกรรมใหม่มาใช้ให้เติมน้ำมันได้เร็ว ไม่ต้องรอคิวนาน เช่น ออกแบบหลุมจอดใหม่ จ่ายเงินด้วยทะเบียนรถที่ผูกกับบัตรเครดิต เป็นอินโนเวชั่น แก๊ส สเตชั่น
smart energy
บริหารจัดการพลังงาน โดยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ตรวจวัดการใช้พลังงานขั้นสูง จัดเก็บ และกระจายพลังงานเพื่อให้ตอบสนองความต้องการสำหรับผู้อยู่อาศัยและใช้งานอย่างชาญฉลาดและครบวงจร รวมถึงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น มีสถานีอัดประจุไฟฟ้า สำหรับรถใช้พลังงานไฟฟ้ามีการใช้โซลาร์รูฟ และยังร่วมกับการไฟฟ้านครหลวงนำสายไฟฟ้าลงดิน กำลังทยอยทำ เช่น สยามสแควร์ จะเสร็จในปี 2564 และอยู่ระหว่างประมูล PPP ให้เอกชนร่วมทุน 20 ปี พัฒนาระบบน้ำเย็นทดแทนเครื่องปรับอากาศ
ทั้งนี้ในปี 2020 PMCU ยังจะมีการพัฒนาสยามสแควร์ ที่อยู่ในพื้นที่ของจุฬาให้เป็น The New Siam Squaare ช้อปปิ้งสตรีทที่มีความนำสมัย และเป็นพื้นที่ที่เปิดโอกาสให้กับคนรุ่นใหม่ได้แสดงความสามารถในด้านต่างๆ อย่างสร้างสรรค์ โดยมีเป้าหมายพัฒนาให้สยามสแควร์เป็นย่านนวัตกรรมและแหล่งรวมความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ เชื่อมโยงผู้คนที่หลากหลาย สินค้าและบริการ และสถานที่ ให้มีชีวิตชีวามากขึ้น ภายใต้คอนเซปต์ “Siam Squaare Connect” ที่สามารถสะท้อนตัวตนและไลฟ์สไตล์ที่แตกต่างของคนรุ่นใหม่มากยิ่งขึ้น
Siamscape เป็นอีกหนึ่งโครงการที่ PMCU มีแผนที่จะเปิดให้บริการในปีพ.ศ. 2563 เป็นโครงการพัฒนาที่ดินบนพื้นที่สยามสแควร์ ให้เป็นอาคารรูปแบบ Mixed use ที่ประกอบไปด้วย พื้นที่เพื่อการเรียนรู้ อาคารสำนักงานสมัยใหม่ และพื้นที่ร้านค้า ด้วยแนวคิดการจัดสรรและใช้ทรัพยากรร่วมกันอย่างสร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพ ภายใต้คอนเซปต์ “ Lifelong Learning ” เพื่อให้สอดคล้องกับแนวคิดในการพัฒนาสยามสแควร์ ให้เป็น Walking & Shopping Street อย่างเต็มรูปแบบ
PMCU ยังมีอีกโครงการที่กำลังประมูลก่อสร้างมีโครงการโซน C ตรงบล็อก 33 ติดอุทยาน 100 ปี จุฬาฯ ซึ่งเป็นพื้นที่สีเขียวใจกลางเมืองขนาดใหญ่ จะเป็นโครงการการสร้างหอพักนิสิตและหอพักบุคคลทั่วไป ภายใต้แนวคิด “Residential & Wellness” จำนวน 2 อาคาร ซึ่งจะมีพื้นที่ข้างหน้าเหลืออีกประมาณ 29,000 ตร.ม. อาจจะพัฒนาพื้นที่ค้าปลีก และพื้นที่สำนักงานให้เช่า พร้อมด้วยศูนย์รวมการแพทย์ชั้นนำด้านการส่งเสริมสุขภาพ ส่วนอัตราการเช่านั้นหอพักบุคลากรกับนิสิตก็ไม่เหมือนกัน ของนิสิตอาจจะราคาถูกหน่อย แต่ก็ไม่ได้ถูกเหมือนหอพักในมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นหอพักแบบสวัสดิการ และในอนาคตจะมีโรงแรมที่อยู่ระหว่างรออนุมัติรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) จะแล้วเสร็จสิ้นปี 2565 อีกด้วย
จะเห็นได้ว่าพื้นที่ของจุฬานั้นมีบริเวณทีกว้างขวางมาก โดนรวมแล้วมี 1,153 ไร่ ซึ่งแบ่งยังเป็นเขตการศึกษา 595 ไร่ พื้นที่ราชการยืมใช้ 173 ไร่ และพื้นที่เขตพาณิชย์ 385 ไร่ ซึ่งล้วนเป็นการบริหารจัดการโดย PMCU ที่มีทั้งลงทุนเองและเปิดให้เอกชนลงทุน เพื่อสร้างรายได้เพิ่มมูลค่าให้กับที่ดินและสังคม
นอกจากนี้ทาง PMCU ยังมีอีกหลายโครงการที่ได้มีการวางแผนการพัฒนาไว้แล้ว เช่น บล็อก 28 บล็อก 29 บล็อก 34 มีความเป็นไปได้ในอนาคตอันใกล้ อย่างไรก็ตามการพัฒนาพื้นที่รอบๆ จุฬานั้นสิ่งสำคัญก็คือ ต้องสอดคล้องกับสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ ธุรกิจที่มาต้องดีกับสังคม และสามารถสร้างรายได้ได้ด้วย ซึ่งพันธกิจหนึ่งของ PMCU จะต้องนำส่งรายได้ให้มหาวิทยาลัยด้วย เพื่อสนับสนุนการศึกษาต่อไป
อ้างอิง : ประชาชาติธุรกิจ , pmcu.co.th